สารบัญ
สรุป 10 เทรนด์ “อีคอมเมิร์ซไทยในปี 2025”
1. มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซพุ่งทะลุ 1.1 ล้านล้านบาทในปี 2024
2. ปัจจัยที่ผลักดันการช้อปออนไลน์ในไทย
ความสะดวกสบายและความคุ้มค่าคือหัวใจสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคไทยหันมาช้อปออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยหลัก เช่น
- โค้ดส่งฟรี และ คูปองส่วนลด
- ตัวเลือกการชำระเงินปลายทาง (COD) ที่ให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าสินค้าตรงตามที่สั่ง
- รีวิวจากลูกค้า และการ ไลค์/คอมเมนต์ บนโซเชียลมีเดีย
ในปี 2024 ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น โดยโปรโมชั่นและบริการหลังการขายที่สะดวกยังคงเป็นสิ่งสำคัญ
3. Landscape การขายแตกหลายในช่องทางใหม่ๆ
ผลสำรวจในปี 2024 พบว่าช่องทางช้อปปิ้งออนไลน์ยอดนิยมในไทย ได้แก่ Shopee, Lazada และ TikTok ซึ่งครองใจผู้บริโภคถึง 75%, 67%, และ 51% ตามลำดับ
ในปี 2025 คาดว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะกระจายตัวเข้าสู่ 5 ช่องทางหลัก ได้แก่
- Marketplace เช่น Shopee, Lazada
- E-tailers เช่น Central, PowerBuy
- Chat Commerce ผ่าน LINE และ Messenger
- Quick Commerce เช่น Grab, 7-11
- Own Shop แบรนด์ที่สร้างแพลตฟอร์มของตัวเอง
4. Top 3 สินค้าขายดีบน 3 มาร์เก็ตเพลส
สำหรับสินค้าขายดีบน 3 แพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลส ประกอบด้วย
- Shopee: แฟชั่น, สินค้า Home & Living, สินค้าสุขภาพและความงาม
- LAZADA: เครื่องใช้ไฟฟ้า, สินค้าเด็กและของเล่น, สินค้า Home & Living
- TikTok: (ปัจจุบัน TikTok ไม่ใด้เป็น Social Commerce แล้ว แต่ถือเป็น E-marketplace): สินค้าความงาม สุขภาพ สินค้า personal care, อาหารและเครื่องดื่ม, แฟชั่นผู้หญิง
5. E-Commerce Listening Tools สร้าง Winning Product
6. Temu สร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดโมเดล “ฝากขาย” สินค้าจากโรงงาน
ปี 2024 “Temu” เปิดตัวสู่ตลาดประเทศไทย เป็นประเทศที่ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างแรงกระเพื่อมในตลาดอีคอมเมิร์ซ ด้วยการเอาโมเดลฝากขาย หรือ Consignment Model นั่นคือ ดีลตรงกับโรงงานผู้ผลิตในจีน เพื่อเอาสินค้าจำนวนมหาศาล มาขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งคนละรูปแบบกับโมเดล Shopee, LAZADA, TikTok ที่เป็นโมเดลมาร์เก็ตเพลส ให้ร้านเปิดขายบนแพลตฟอร์ม
ทำให้ฝั่ง Shopee, LAZADA ตอบโต้ทันที ด้วยการเปิดโมเดลฝากขาย ดีลกับโรงงานโดยตรงเช่นกัน อย่าง LAZADA Choice, Shopee Choice
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Unbranded หรือสินค้าที่ไม่มีแบรนด์ ขายในราคาถูก เข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมากขึ้น ดังนั้น การมาของ Temu ส่งผลให้ผู้นำมาร์เก็ตเพลสในไทยสวนหมัดกลับไป เอาสินค้า Consignment เข้ามาตอบโต้ ส่งผลให้สินค้าจีนเข้ามาตลาดไทยจำนวนมาก
7. ค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซปรับเพิ่มสูงขึ้น
8. Affiliate Marketing และ Influencers กลายเป็นกุญแจสำคัญ
โมเดล Affiliate Marketing แบรนด์ ทำงานร่วมกับ Influencer มาแรงทั้งในปีนี้ และปี 2025 เพื่อสร้างยอดขาย ซึ่งในอดีตรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนให้กับ Influencer เน้นจ่ายเป็นค่าจ้างตายตัว (Flat Rate) แต่การเกิดขึ้นของ Affiliate Marketing ทำให้แบรนด์เน้นการจ่ายตามยอดขาย (Percentage of Sales)
เหตุผลที่ Affiliate Marketing เติบโต จากผลสำรวจพบว่า 83% ของผู้บริภคไทย เลือกซื้อสินค้าตาม Influencer แนะนำ โดยกลุ่มสินค้าความงามและแฟชั่นเป็นหมวดที่ Influencer มีอิทธิพลมากที่สุด
9. LIVE Commerce ปี 2025 จะแข่งกันเพิ่มชั่วโมงไลฟ์มากขึ้น
ทุกวันนี้คนไทยชอบดู LIVE Commerce ผ่านช่องทางหลักดังนี้
- TikTok 86%
- Shopee 57%
- Facebook 52%
- LAZADA 32%
- Instagram 23%
คาดว่าปี 2025 จะแข่งขันกันไลฟ์ชั่วโมงนานขึ้น อย่างประเทศจีน ปัจจุบันไลฟ์กันตลอด 24 ชั่วโมง ประกอบกับตัววัดของแพลตฟอร์มจะวัดกันที่จำนวนชั่วโมงไลฟ์ด้วย ดังนั้นถ้าแบรนด์และแพลตฟอร์มเพิ่มชั่วโมงการไลฟ์ได้มาก จะส่งผลให้ Reach และ Traffic คนดูได้มากขึ้น
10. ปี 2025 ปีแห่งการได้รับสินค้า “ไวเป็นปีศาจ” – คาดตลาด Quick Commerce ไทยโตปีละ 20 -30%
การแข่งขันธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ไม่ได้แช่งที่ราคาอย่างเดียวแล้ว แต่แข่งกันที่ “ประสบการณ์ลูกค้า” ด้วยเช่นกัน โดยปี 2024 อีคอมเมิร์ซในไทยแข่งด้าน “การจัดส่งเร็ว” ทำให้ผู้บริโภคไทยปรับตัวสู่ New Normal คือ การสั่งสินค้าอีคอมเมิร์ซ แล้วได้ภายใน Next Day จะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของอีคอมเมิร์ซ
การแข่งขันจัดส่งเร็วดังกล่าว จะเห็นมากขึ้นในปี 2025 เรียกได้ว่าเป็นปีแห่งการได้รับสินค้า “ไวเป็นปีศาจ” และคาดว่าตลาด Quick Commerce ไทยโตปีละ 20 -30%