Fistrankplus มีบริการรับทำเว็บ WordPress หนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดในการทำเว็บไซต์คือการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้เข้าชม โดยเราควรออกแบบเว็บไซต์ให้ใช้งานง่าย อ่านสะดวก เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว และรองรับการแสดงผลได้ทุกอุปกรณ์ การมอบประสบการณ์ที่ดีนี้จะส่งผลดีต่อเว็บไซต์ เช่น เพิ่มจำนวนผู้เข้าชม และดึงดูดลูกค้ามากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบได้บ่อยคือการแสดงข้อความแจ้งเตือน “404 Not Found” เมื่อผู้ใช้งานพยายามเข้าถึงหน้าที่ไม่สามารถเปิดได้ ซึ่งสร้างความสับสนและอาจทำให้ผู้ใช้งานไม่พึงพอใจ บทความนี้ FirstRankPlus จะช่วยอธิบายว่า “404 Page Not Found” เกิดจากอะไร และวิธีการรับมือเพื่อป้องกันไม่ให้เว็บไซต์ของเราพบปัญหานี้
สารบัญ
404 Page Not Found คืออะไร ?
สาเหตุที่ทำให้เกิดหน้า 404 Not Found
ปัญหา 404 Page Not Found ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและแก้ไขได้ไม่ยาก เพียงแต่ต้องทราบสาเหตุที่แท้จริงว่ามาจากอะไร ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดปัญหานี้ ได้แก่
- หน้าถูกลบไปแล้ว: อาจเกิดจากการลบหน้าเพจหรือไฟล์ออกจากเซิร์ฟเวอร์ ทั้งตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ หรือในกรณีที่ลงประกาศงานไว้แล้วประกาศนั้นหมดอายุไปแล้ว หน้านั้นก็อาจแสดง 404 Error ได้เช่นกัน
- URL ของหน้าเพจถูกเปลี่ยนแปลง: เช่นเดิม URL เคยเป็น domain.com/page1 แต่เปลี่ยนเป็น domain.com/page-one หากเข้าใช้งานผ่าน URL เดิม จะเจอ 404 Page Not Found
- ชื่อไฟล์ถูกเปลี่ยน: เว็บไซต์บางระบบใช้ชื่อไฟล์เป็น URL เช่น about.php ทำให้การเข้าถึงเป็น domain.com/about.php หากมีการเปลี่ยนชื่อไฟล์นี้ เวลาเข้าถึง /about.php ก็จะพบกับ 404 Error ได้
- พิมพ์ URL ผิด: หากพิมพ์ลิงก์ผิดเมื่อเข้าผ่านเบราว์เซอร์ จะพบกับ 404 Error เนื่องจากไม่มีหน้าเพจนั้นอยู่ในระบบ วิธีแก้ไขคือพิมพ์ใหม่ให้ถูกต้อง
ปัญหาการเชื่อมต่อระหว่างเซิร์ฟเวอร์และเว็บไซต์: เช่นในกรณีที่ใช้ระบบ WordPress แต่เซิร์ฟเวอร์ไม่ได้เชื่อมต่อหรือมีปัญหาการเชื่อมต่อกับ WordPress ส่งผลให้เกิด 404 Error ได้ - โดเมนไม่ได้ใช้งานแล้ว: หากเดิมเว็บไซต์ของคุณอยู่ที่ domain-a.com แต่เปลี่ยนไปเป็น domain-aaa.com การเข้าเว็บไซต์ที่โดเมนเดิมก็อาจแสดง 404 Error ได้
ความเสียหายของการเกิดหน้า 404 Not Found ส่งผลต่อ SEO อย่างไร ?
หน้า 404 Not Found ส่งผลต่อ SEO ในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะเรื่องประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชมและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่ Google ใช้พิจารณาในการจัดอันดับการค้นหา ดังนี้
ประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience)
หากผู้เข้าชมพบหน้า 404 บ่อยครั้ง อาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกไม่ประทับใจและมีแนวโน้มที่จะออกจากเว็บไซต์ทันที (bounce rate สูงขึ้น) ซึ่งเป็นสัญญาณเชิงลบที่ Google ใช้ในการประเมินคุณภาพของเว็บไซต์
ลิงก์เสีย (Broken Links)
หน้า 404 ที่เกิดจากการลิงก์ไปยัง URL ที่ไม่ถูกต้องจะทำให้เว็บไซต์มีลิงก์เสียจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้ Google bot ไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาที่ควรจะเข้าถึงได้ ทำให้โอกาสในการจัดอันดับที่ดีลดลง นอกจากนี้ การมีลิงก์เสียเป็นจำนวนมากยังบ่งชี้ว่าเว็บไซต์ไม่ได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ
การสูญเสีย Backlinks
หากหน้า 404 นั้นเคยมี Backlinks ที่ชี้มายัง URL ที่หายไป SEO ของเว็บไซต์จะสูญเสียความน่าเชื่อถือจาก Backlinks เหล่านั้น ซึ่งอาจทำให้อันดับการค้นหาลดลงในระยะยาว
ค่า Crawl Budget ของ Google Bot
Google bot มีเวลาจำกัดในการครอลเว็บไซต์ (Crawl Budget) หากเจอหน้า 404 บ่อยครั้ง จะทำให้ค่า Crawl Budget สูญเปล่าและลดโอกาสในการครอลหน้าเว็บใหม่ๆ ของเรา ซึ่งเป็นผลเสียต่อ SEO โดยตรง
วิธีแก้ไข 404 Page Not Found ทำได้อย่างไรบ้าง ?
ประเภทของ Redirect
- 301 Redirect
ใช้สำหรับการเปลี่ยนเส้นทางแบบถาวร โดยให้ทุกคนที่พยายามเข้าถึง URL เก่าถูกส่งไปยัง URL ใหม่แบบอัตโนมัติ การใช้ 301 Redirect จะช่วยให้ Google Bot เข้าใจว่าเนื้อหาใน URL เก่าได้ถูกย้ายไปยัง URL ใหม่อย่างถาวร การใช้ 301 Redirect จึงเหมาะสำหรับการแก้ไขหน้า Error 404 ที่เกิดจากการลบหน้าเพจหรือเปลี่ยน URL ถาวร เพื่อรักษาความต่อเนื่องของเนื้อหาสำหรับผู้ใช้งาน - 302 Redirect
ใช้สำหรับการเปลี่ยนเส้นทางแบบชั่วคราว ซึ่งจะแจ้งให้ Search Engine ทราบว่าหน้านี้จะกลับมาใช้ URL เดิมในภายหลัง การใช้ 302 Redirect มักใช้ในกรณีที่ผู้ดูแลเว็บไซต์ต้องการทดสอบหน้าใหม่ หรือในกรณีที่ต้องการปรับปรุงชั่วคราว โดยไม่กระทบต่อ SEO ในระยะยาว
วิธีใช้หน้า Error 404 ให้เกิดประโยชน์
นอกจากการ Redirect หน้าเสียแล้ว เรายังสามารถออกแบบหน้า Error 404 ให้มีประโยชน์มากกว่าเพียงการแจ้งว่า “ลิงก์เสีย” โดยการปรับแต่งหน้า Error ให้ดูดี สื่อสารชัดเจนว่าหน้าเพจนี้ไม่พร้อมใช้งานแล้ว การออกแบบที่ดีสามารถสร้างความเข้าใจและไม่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสับสน นอกจากนี้การเพิ่มปุ่ม “กลับไปหน้าแรก” หรือ “ไปหน้า Home” ยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกเส้นทางไปยังเนื้อหาหลักของเว็บไซต์ได้อย่างสะดวก