ผู้ให้บริการด้านการทำเว็บไซต์และการตลาดออนไลน์

IDN (Internationalized Domain Name) คืออะไร ?

IDN (Internationalized Domain Name) คืออะไร ?

ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ IDN (Internationalized Domain Name) หรือ “โดเมนเนมภาษาท้องถิ่น” เพราะในยุคดิจิทัลปัจจุบัน เว็บไซต์เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เราเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ได้ แต่ว่าภาษาที่ใช้ในการเขียนและสื่อสารกันกับผู้คนทั่วโลกอาจมีความแตกต่างกันไป เพราะในแต่ละท้องถิ่นมีภาษาหลักที่ไม่เหมือนกัน

ก่อนหน้านี้ การจดทะเบียนโดเมนเนมจำกัดเฉพาะกับอักขระ ASCII เท่านั้นเนื่องจากข้อจำกัดทางเทคนิคของระบบชื่อโดเมน แต่หลังจากที่ระบบภาษาท้องถิ่นได้ถูกพัฒนาขึ้น เราจึงสามารถใช้อักขระภาษาไทยที่ประกอบด้วยพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายอื่น ๆ ในภาษาไทยเพื่อใช้กำหนดชื่อโดเมนได้

นี่คือเหตุผลที่ IDN กำเนิดขึ้นมา โดยโดเมนเนมภาษาท้องถิ่นเป็นชื่อโดเมนที่สามารถรวมรูปแบบอักขระที่ไม่ใช่อักขระ ASCII 37 ตัว ที่ประกอบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ (A-Z) และตัวเลขอารบิก (0-9) รวมถึงเครื่องหมายยัติภังค์ (-) ในชื่อโดเมนนั้น ๆ ได้

สารบัญ

IDN นวัตกรรมใหม่บนโลกไซเบอร์

idn2

แม้ว่าโดเมนเนมในรูปแบบภาษาท้องถิ่น ได้ถูกเปิดให้ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ อีกกว่า 350 ภาษาทั่วโลกได้ใช้งานตั้งแต่ปี 1996 ถูกพัฒนามาและนำมาใช้เมื่อปี 1998 และนำเป็นมาตราฐานเมื่อปี 2005 ที่ผ่านมา มีหลายเหตุผลที่ทำให้ชื่อโดเมนภาษาท้องถิ่น ยังไม่ได้รับความนิยมและการใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศต่าง ๆ อาจเป็นเพราะวิธีการใช้งานที่ยังไม่เต็มรูปแบบและอาจยังไม่เข้าใจถึงโอกาสที่สามารถได้รับจากการใช้งานภาษาท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่

แล้วการจดโดเมนภาษาไทย ดีกว่ายังไง ? การใช้งานภาษาท้องถิ่นในการท่องเว็บไม่เพียงแค่ช่วยให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกสบายในการเข้าถึงและนำเสนอเนื้อหาต่าง ๆ แต่ยังมีความสำคัญในด้านการตลาดอย่างมาก โดยเฉพาะในการเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ภาษาเดียวกัน การใช้ภาษาท้องถิ่นช่วยสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับลูกค้าในท้องถิ่นได้ดีขึ้น

ในโลกไซเบอร์ IDN ได้รับการยอมรับจาก ICANN ที่เป็นองค์กรสากลที่ทำหน้าที่ดูแลและจัดสรรทรัพยากรในระบบอินเทอร์เน็ต การนำเสนอโดเมนเนมในรูปแบบภาษาท้องถิ่น ได้เป็นนวัตกรรมที่สร้างความสนใจและเปิดโอกาสใหม่ให้กับประชาคมโลก โดยสร้างพื้นที่ให้กับภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นทั่วโลกในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านโลกอินเตอร์เน็ต ซึ่งอาจส่งผลให้การตลาดและการสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ทำไม IDN ถึงน่าสนใจ ?

เป็นเครื่องมือที่มีความท้าทายและน่าสนใจ เพราะจะส่งผลดีต่อการทำเว็บไซต์ ดังนี้

หมดปัญหาข้อจำกัดทางภาษา

เพราะเป็นชื่อโดเมนที่ใช้งานง่ายและจดจำได้ดีมากขึ้น เนื่องจากใช้ภาษาที่เป็นที่รู้จักมากขึ้นเมื่อผู้ใช้งานเริ่มต้นใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักของระบบโดเมนเนม ทำให้ในบางกรณีคนไทยและคนต่างชาติไม่สามารถจดชื่อโดเมนที่สื่อความหมายตรงกับเนื้อหาของเว็บไซต์ได้

ส่วนใหญ่เนื่องจากชื่อโดเมนที่ต้องการนั้นถูกจองไปหมดแล้ว แต่ก็มีผู้จดจำนวนไม่น้อยแก้ปัญหาโดยการใช้ชื่อภาษาอังกฤษที่สื่อความหมายตรงกับเนื้อหาแต่ก็ยังยาวเกินไป หรืออาจจะใช้ชื่อที่เป็นภาษาไทยแต่ให้เสียงอ่านออกตามแบบภาษาอังกฤษ ซึ่งยากต่อการอ่านออกเสียงและการสะกด จึงส่งผลให้จดจำยากและอาจทำให้ภาพลักษณ์ของเว็บไซต์ภายใต้ชื่อโดเมนนั้นไม่ชัดเจน

การมีโดเมนที่เขียนด้วยอักขระภาษาหลากหลายแบบช่วยเพิ่มความหลากหลายและการเลือกใช้ชื่อโดเมนมากขึ้น ในอดีตระบบรองรับเฉพาะอักขระภาษาอังกฤษเท่านั้น ทำให้คนไทยและชาติอื่น ๆ ถูกจำกัดในการใช้ชื่อโดเมนในรูปแบบของภาษาตนเอง

เพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาด

หน้าที่ของโดเมนเนมเปรียบเสมือนสะพานที่สำคัญในการเชื่อมต่อกับข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ ชื่อโดเมนจึงมีความสำคัญทั้งในเรื่องภาพลักษณ์และอัตลักษณ์เพื่อการสื่อสารทางการตลาดอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มที่ผู้ใช้งานค้นหาบนอินเตอร์เน็ตมักใช้ ซึ่งทำให้การเลือกใช้ชื่อโดเมนที่ไม่ชัดเจนอาจส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายของลูกค้าเสียไปสู่คู่แข่งทางธุรกิจที่มีโดเมนชัดเจนมากขึ้น

ในขณะที่ IDN จะทำให้เกิดการใช้รูปแบบตัวอักษรท้องถิ่นที่คุ้นเคยและง่ายต่อการจดจำ จึงเป็นวิธีที่สะดวกในการใช้ชื่อโดเมนในการเข้าสู่เว็บไซต์ ดังนั้นโดเมนที่มีรูปแบบอักขระท้องถิ่นจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมความเข้มแข็งให้แก่ภาพลักษณ์ของแบรนด์อีกทั้งยังช่วยในการเพิ่มความสามารถของเว็บไซต์ในการสื่อสารกับลูกค้าที่ไม่สะดวกในการใช้ภาษาอังกฤษ

ส่งผลดีต่อการทำ SEO

ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าในปัจจุบัน SEO (Search Engine Optimization) เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสื่อสารและเผยแพร่เว็บไซต์ที่มีผลลัพธ์ดี เพราะจะช่วยให้เว็บไซต์มีโอกาสอยู่ในอันดับแรกของผลการค้นหาและเพิ่มโอกาสให้ผู้ใช้งานคลิกเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้มากขึ้น เพื่อให้การทำ SEO ประสบผลสำเร็จ จำเป็นต้องพึ่งพาองค์ประกอบที่เข้าข้อกับเกณฑ์ในการจัดอันดับเว็บไซต์ของเครื่องมือการค้นหาแต่ละตัว ซึ่งอาจแตกต่างกันไป

อย่างไรก็ตามโดเมนเป็นชื่อที่ระบุที่อยู่ของเว็บไซต์ที่เหมือนกับ Keyword สำหรับเครื่องมือการค้นหา (Search Engine) ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ ดังนั้น การที่ IDN ช่วยให้เราสามารถมีชื่อโดเมนที่ตรงตามเป้าหมายมากขึ้น จึงเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ติดอันดับต้น ๆ ได้

ชื่อเว็บไซต์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แม้จะมีผู้กล่าวถึงความสามารถของเครื่องมือการค้นหาและแถบค้นหาแบบสมัยใหม่ที่ช่วยให้เราค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องพิมพ์ชื่อโดเมนเนม อย่างไรก็ตามผลลัพธ์การค้นหาที่ปรากฏอยู่ในรายการลิสต์ยังต้องใช้การตัดสินใจในการเลือกจากผู้ใช้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากการพิมพ์ URL ที่จะนำผู้ใช้งานไปยังเว็บไซต์ที่ต้องการเลย

การที่เครื่องมือการค้นหาได้มีบทบาทสำคัญในการเข้าสู่เว็บไซต์นั้นไม่ได้เกี่ยวข้องเพียงแต่กับการให้ผู้ใช้เห็นรายการเว็บไซต์ เพื่อเลือกเข้าสู่เว็บไซต์ที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานเท่านั้น แต่ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของชื่อโดเมนที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ผู้ใช้เว็บไซต์อาจจำชื่อเว็บไซต์ไม่ได้หรือไม่แน่ใจในชื่อเว็บไซต์เนื่องจากการสะกดที่อ่านยาก หรือผู้ใช้งานอาจไม่ต้องการพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่ยาวเกินไปจึงเลือกการใช้ Keyword แทน

ดังนั้น IDN เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตั้งชื่อเว็บไซต์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเพิ่มโอกาสในการใช้ชื่อโดเมนที่สั้นลงและมีการสะกดที่น่าจดจำ เช่นนี้โดเมนจะสามารถทำงานและตอบสนองต่อผู้ใช้ได้ดีขึ้น และยังคงสร้างคุณประโยชน์และความสามารถที่แท้จริงของชื่อโดเมนไว้

บทสรุป

IDN (Internationalized Domain Names) หรือ โดเมนเนมภาษาท้องถิ่น คือระบบการให้ชื่อโดเมนที่สามารถใช้งานได้ในหลายภาษา ด้วยคุณสมบัติที่สำคัญคือการรองรับหลายภาษาและสัญลักษณ์พิเศษในชื่อโดเมน ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเว็บไซต์และบริการต่าง ๆ โดยใช้ภาษาของท้องถิ่นของตัวเองได้ โดยรูปแบบการทำงานนั้นเกี่ยวข้องกับการใช้รหัส Unicode (UTF) เพื่อแสดงสัญลักษณ์และตัวอักษรในหลายภาษา

และใช้การเข้ารหัส Punycode เพื่อให้ชื่อโดเมนสามารถใช้ร่วมกับระบบ DNS โดยการดูแลรักษาระบบ IDN ต้องใช้ความรอบคอบและความชำนาญเฉพาะทางเนื่องจากมีความซับซ้อนในเรื่องของรหัสและระบบโดเมน สามารถสร้างโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาและบริการต่างๆ ในเว็บไซต์โดยใช้ภาษาของท้องถิ่นของตัวเองได้อย่างสะดวกสบายและเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง